หลายคนอาจจะเคยได้บินเกี่ยวกับการ ยกบ้าน หรือดีดบ้าน ซึ่งคงพอจะคาดเดาได้ว่าเป็นการทำให้บ้านยกสูงขึ้นจากเดิม แต่ไม่ใช่ว่าคิดจะยกบ้านแล้วทำได้เลย เพราะยังมีเรื่องของข้อกฎหมาย และวิธีการยกบ้าน ซึ่งต้องทำโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากมีผลต่อโครงสร้างบ้านทั้งหลัง มาดูว่ายกบ้าน คืออะไร สามารถทำได้กรณีไหนบ้าง มีประโยชน์หรือข้อควรระวังอย่างไร เพื่อการยกบ้านที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย
ยกบ้าน คืออะไร
การยกบ้าน หรือดีดบ้าน คือ การทำให้บ้านสูงขึ้นกว่าระดับที่เป็นอยู่ เป็นการตัดโครงสร้างช่วงเสาตอม่อแยกตัวบ้านออกจากฐานราก แล้วค้ำยกตัวบ้านขึ้นในระดับความสูงที่ต้องการด้วยค้ำยันไฮดรอลิก จากนั้นทำโครงสร้างเสริมรับส่วนเสาตอม่อที่ถูกตัดแยกออก ให้น้ำหนักตัวบ้านถ่ายลงฐานรากของบ้านดังเดิม
การยกบ้านสามารถทำได้ทั้งบ้านไม้และบ้านปูน เป็นวิธีการที่ทำกันมาตั้งแต่อดีต เพราะคนนิยมปลูกสร้างบ้านริมน้ำ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมและบ้านทรุดได้ จึงต้องมีการยกบ้านหรือดีดบ้านขึ้น เพื่อแก้ปัญหาบ้านพังที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป วิลล่า
โดยปัจจุบันการยกบ้าน มีความสะดวกและมีมาตรฐานมากขึ้น แต่ก็มาพร้อมค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับการที่ต้องทุบบ้านทิ้งแล้วสร้างใหม่ หลายคนมองว่าต้องใช้งบประมาณที่มากกว่า จึงเลือกที่จะใช้วิธียกบ้านแทน
ประโยชน์ของการยกบ้าน
หากมองถึงประโยชน์ของการยกบ้าน หลัก ๆ คือ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น มีการถมที่ดินหรือถมถนนขึ้นสูงกว่าบ้าน แก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากแทนการย้ายที่อยู่อาศัย หรือปัญหาที่เกิดจากตัวบ้านโดยตรง เช่น บ้านทรุด ซึ่งเกิดจากบ้านเก่า มีอายุการใช้งานนานหลาย 10 ปี การทำให้บ้านสูงและแข็งแรงขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีในการแก้ปัญหาระยะยาว โดยไม่ต้องย้ายบ้านหรือสร้างบ้านใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณมากและใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการยกบ้าน รีโนเวทบ้านไม้
ลำดับขั้นตอนการยกบ้านและอาคาร
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้อธิบายถึงขั้นตอนการยกบ้านที่ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรม ซึ่งใช้กับอาคารได้ทุกชนิด ได้แก่ บ้านไม้ อาคารอิฐก่อ อาคารเหล็ก หรืออาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนี้
- ทำเสาเข็ม หรือฐานรองรับ
- ทำค้ำยันเพื่อถ่ายน้ำหนักจากตัวอาคารลงสู่เสาเข็ม หรือฐานที่รองรับ
- ติดตั้งแม่แรงไฮดรอลิก
- ตัดเสาตอม่อ หรือเสาเข็มให้ขาดจากฐานรากเดิม
- ยกอาคารทั้งหลังขึ้นพร้อมกัน ในขณะยกจะทำค้ำยันตามไปด้วย
- เมื่อยกได้ความสูงที่ต้องการแล้ว ทำการต่อเสาอาคาร หรือบ้านลงสู่ฐานราก
ยกบ้านหรือดีดบ้าน ควรทำในกรณีไหน
การยกบ้าน มีข้อควรระวัง ดังนั้นจึงต้องมีการคิดไตร่ตรองมาเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจ ซึ่งหลัก ๆ แล้ว การยกบ้านจะนิยมทำใน 3 กรณี คือ
1.บ้านอยู่ระดับต่ำกว่าถนน
เมื่อครั้งที่ซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน เลือกทำเลดี ไม่มีปัญหาน้ำท่วม โครงการอยู่สูงกว่าระดับถนน โอกาสน้ำท่วมถึงเป็นไปได้ยาก แต่ต่อมามีการก่อสร้างขยายถนน ทำให้บ้านอยู่ระดับต่ำกว่าถนนไปโดยปริยาย เวลาที่ฝนตกหนัก น้ำระบายไม่ทัน จึงพบปัญหาน้ำเอ่อไหลเข้าท่วมพื้นบ้านชั้นล่าง แม้จะหล่อแนวขอบคันคอนกรีตกั้นน้ำเพื่อป้องกัน แต่ก็อาจมีน้ำซึมจากพื้นบ้าน ขอบมุม พื้นชนผนัง และยาแนวกระเบื้องได้ การยกบ้านหรือดีดบ้านขึ้น เพื่อให้พื้นบ้านอยู่ในระดับสูงกว่าถนน แม้จะต้องทำหลายขั้นตอน แต่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว
2.บ้านอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมบ่อย
หลายบ้านเคยมีประสบการณ์จากเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 ทำให้ก่อนซื้อบ้านหรือซื้อที่ดินปลูกสร้างบ้าน พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องนำมาประกอบการตัดสินใจ เพราะการที่ที่อยู่อาศัยต้องจมน้ำ หรือถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน อาจกระทบโครงสร้างบ้านให้ได้รับความเสียหาย รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และของใช้ต่าง ๆ ในบ้าน ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน การยกบ้านให้สูงขึ้นอย่างน้อย 1.5 เมตร หรือมากกว่านั้น สามารถลดความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมได้
3.บ้านทรุดตัวจากฐานราก
ฐานรากเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบ้าน เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของตัวบ้านทั้งหมด เสาเข็มต้องมีความมั่นคงแข็งแรง โดยเสาเข็มเป็นส่วนของโครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน หากเสาเข็มเกิดการทรุดตัวลง จะทำให้ระดับพื้นของตัวบ้านไม่เท่ากัน สัญญาณที่พบ คือ กำแพงมีรอยร้าวเป็นแนวเฉียง ตัวบ้านเริ่มทรุดเอียง
ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงต้องหมั่นสังเกตรอยร้าวรอบ ๆ ตัวบ้าน เพื่อหาทางป้องกันก่อนบ้านพัง วิธีแก้ปัญหาด้วยการยกบ้าน สามารถเพิ่มความแข็งแรงของพื้นบ้านและตัวบ้านได้ในระยาว วิลล่าภูเก็ต
ยกบ้าน สิ่งที่ต้องระวัง
- การยกบ้านหรือดีดบ้าน เป็นการตัดยกโครงสร้างบ้านทั้งหลังให้สูงขึ้น แล้วเสริมเสากับตัวบ้านใหม่ลงบนฐานรากเดิมหรือฐานรากใหม่ ที่มีการเสริมความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- อาคารที่เหมาะในการยก คือ อาคารเป็นหลังเดี่ยว เช่น บ้านเดี่ยว ไม่เหมาะสำหรับตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ เพราะการดีดจะต้องทำทั้งหลัง ไม่สามารถทำเฉพาะส่วนได้ ส่วนตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ หากต้องการทำ ต้องทำพร้อมกันทั้งแถว
- ตามกฎหมาย การยกบ้านหรือดีดบ้าน เป็นการดัดแปลงอาคาร ต้องมีการยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามกฎหมายต้องมีวิศวกรออกแบบและควบคุมงาน เพื่อรับผิดชอบการทำงานดังกล่าว
- แม้จะมีบทเรียนจากน้ำท่วมในปี 2554 รู้ว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯ เขตไหนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รู้ระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด แม้จะยกบ้านหนีน้ำจนพ้น แต่ก็ไม่อาจมั่นใจได้ 100% ว่า หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำรอย น้ำจะไม่ท่วมถึง
- การยกบ้านขึ้น อาจทำให้บ้านต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ เช่น มีการเพิ่มบันไดหรือทางลาดเพื่อขึ้นบ้าน ซึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากต้องเดินขึ้นบันไดตามความสูงที่มากขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการยกบ้านค่อนข้างสูง ประเมินคร่าว ๆ ประมาณครึ่งหนึ่งของราคาค่าก่อสร้างบ้านใหม่ ดังนั้นเจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าการยกบ้านให้สูงขึ้น แล้วได้บ้านเดิม สภาพเดิม เปรียบเทียบกับการก่อสร้างบ้านใหม่ที่สภาพบ้านสมบูรณ์กว่า แบบไหนจะคุ้มกว่ากัน แต่งกำแพงบ้าน
เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับคนที่กำลังคิดจะยกบ้าน ซึ่งมีข้อดี สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาวแต่ไม่ใช่คิดจะยกบ้านก็สามารถทำได้เลย เพราะมีสิ่งที่ต้องระวังนำมาพิจารณาประกอบกัน รวมถึงงบประมาณและโครงสร้างบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวบ้านได้รับความเสียหาย หรือเกิดอันตรายขึ้นในระหว่างที่ยกบ้าน